Sunday, February 16, 2014
การประชาสัมพันธ์โครงการ “หัวใจเราฝาก...เคียงไว้อยู่คู่บางแสน”
ลิงค์:ภาพกิจกรรมการรณรงค์การทิ้งขยะลงหาดบางแสน
เสนอโดย นักนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ปี3
ปัญหาปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (Water discoloration หรือ Red tide)
นักวิชาการชี้ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงที่บางแสน เกิดจากแพลงก์ตอน เตือนประชาชนอย่าด่วนบริโภคปลา ปู กุ้ง หอยที่ลอยตาย เพราะแพลงก์ตอนบางชนิดสร้างสารพิษได้ กรณีน้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงบริเวณชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี จนเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตตายลงจำนวนมาก ว่าเป็นปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ(water discoloration หรือ red tide) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช เนื่องจากแพลงก์ตอนเหล่านี้ต่างก็มีสีในตัวเอง เมื่อเจริญเติบโตจำนวนมากก็จะทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนชนิดที่มีมากในขณะนั้น
ปัญหาขยะล้นบางแสน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตนั้นมีมากหลายปัญหา แต่ประเด็นที่มีความสำคัญและทั่วโลกให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้คือ มลพิษทางทะเล ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์และได้ก่อให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมลง โดยเฉพาะต่อระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง และที่สำคัญอย่างยิ่งต่อห่วงโซ่อาหารอันมีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่งที่สำคัญ ทะเลและมหาสมุทรนับเป็นแหล่งรองรับของเสียที่สำคัญของโลก เพราะของเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ท้ายที่สุดแล้วก็จะไหลลงสู่ทะเล ทำให้น้ำทะเลมีของเสียปนเปื้อนอยู่มาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเล
สำหรับทะเลในจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะในเขตชายหาดบางแสน ซึ่งเป็นหาดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ในปี พ.ศ. 2545 ทางเทศบาลแสนสุขได้ดำเนินการแก้ปัญหาขยะบริเวณชายหาด โดยการสร้างทุ่นดักจับขยะไว้กลางทะเล เพื่อดักจับขยะจากท้องทะเลที่จะลอยเข้ามาติดชายหาด ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะลงได้มาก การสร้างทุ่นในระยะแรก ขยะลดลงไป 70% ในระยะที่ 2 ลดลง 80-90% โดยการเก็บขยะที่ติดอยู่กับทุ่นเทศบาลจะมีเรือลอยออกไปเก็บ ส่วนขยะบริเวณชายหาดก็มีเทศบาลมาเก็บ
ส่วนปริมาณขยะที่มาจากนักท่องเที่ยวมีเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน เพราะชายหาดบางแสนเป็นชายหาดที่บูรณาการเพื่อนักท่องเที่ยวและการพักผ่อน ที่สำคัญจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาบางแสนเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงหลังที่มีการปรับปรุงหาดชายอยู่เป็นประจำ ยิ่งในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปริมาณขยะก็ต้องมีมากอยู่แล้ว แต่ก็มีการป้องกัน คือ มีการติดป้ายรณรงค์เรื่องรักษาความสะอาด
คุณค่าและความสำคัญของทะเลนั้นมีมากกว่าการเป็นแหล่งรองรับของเสียจากมนุษย์ ทะเลหาใช่ถังขยะของเรา แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาพันธุ์ และเป็นโลกที่สวยงามอีกใบหนึ่งที่หลายคนเคยได้สัมผัส แต่ปัญหามลพิษทางทะเลนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที โดยเริ่มต้นด้วยการปลุกจิตสำนึกรักษาความสะอาดที่ตัวเราก่อน
ชายหาดบางแสน
บางแสน
เป็นหาดทรายทะเลขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้กรุงเทพ มากที่สุด
เป็นสถานตากอากาศชายทะเลยอดนิยมมาตั่งแต่ พ.ศ. 2486 จนถูกขนานนามว่า
"บางแสนดินแดนสุขี" ผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวกันจำนวนมาก
ประวัติของหาดบางแสน
เดิมเป็นชายทะเลรกร้าง อยู่ในตำบลชื่อ "แสนสุข" จนกระทั่ง พ.ศ. 2486
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการสร้างสถานตากอากาศขึ้นมีการสร้าง โรงแรม
และ ที่พักต่างๆ ดำเนินการโดยบริษัทแสนสำราญ จึงเรียกว่าสถานตากอากาศแสนสำราญตามชื่อบริษัท
ต่อมาใน พ.ศ. 2503 จึงโอนให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเปลี่ยนชื่อเป็น
สถานตากอากาศบางแสน ชายหาของ ต. แสนสุข จ. ชลบุรี
หาดบางแสน
เป็นช่วงกลางของหาดและเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นน้ำ ชายหาดยาว 2กม.
นับจากวงเวียนบางแสนจนถึง โรงแรม เอสเอส บางแสนบีช หาดบางแสนมีความลาดเอียงเล็กน้อย
ระดับน้ำตื้น เหมาะแก่การเล่นน้ำ
หาดทรายที่บางแสนไม่ขาวเนื่องจากมีตะกอนจากแม่น้ำบางปะกง แต่หาดทรายมีเนื้อละเอียด
สามารถจอดรถริมถนนได้
แหลมแท่น
เป็นช่วงปลายแหลมของหาดบางแสนตอนเหนือต่อกับอ่าวเขาสามมุข
มีศาลาทรงไทยและลานชมทิวทัศน์ มีประติมากรรมหินแกรนิตรูปปลาโลมากับเกลียวคลื่นตั้งอยู่เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงความรักหวงแหนของชาวแสนสุข
และเป็นที่นิยมมาพักผ่อนยามเย็น
หาดวอนนภา
เป็นชายหาดตอนใต้ของหาดบางแสน บริเวณวงเวียนบางแสนลงไปทางใต้อีก 2กม. มีบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดบางแสน
การพัฒนาชุมชนบางแสน
บางแสนได้ถูกกำหนดให้เป็นเมืองท่องเที่ยว เทศบาลแสนสุขได้เข้าไปจัดระเบียบการใช้พื้นที่ การพัฒนาเริ่มแรก ทางเทศบาลฯได้ทำการย้ายชุมชนสลัมออกจากพื้นที่ชายหาด และได้จัดซื้อที่อู่อาศัย ให้แก่ชุมชนสลัมใหม่ หลังจากนั้นได้กำหนดพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งเป็น พื้นที่เพื่อการผักผ่อน, การเล่นน้ำทะเล, การเล่นกีฬาทางน้ำ, พื้นที่สำหรับจำหน่ายของที่ระลึก, พื้นที่สำหรับขายอาหาร, ทางเดินเท้า, ทางรถจักรยาน, ที่จอดรถ รวมทั้งการรักษาความสะอาด การพัฒนา และรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ มีการจัดกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อให้เป็นที่น่าดึงดูดใจแก่นักท่องเที่ยว จากนั้นได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของชายหาดบางแสน โดยปลูกต้นมะพร้าวตลอดแนวชายหาดบางแสน จนเป็นเอกลักษณ์ ของชายหาดบางแสน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุขอย่างทั่วถึงอย่างเป็นระบบ เมื่อเทศบาลเมืองแสนสุข ได้เข้าไปจัดระเบียบการใช้พื้นที่เป็นสัดส่วน คือ มีการกำหนดพื้นที่เพื่อผักผ่อน เล่นน้ำ เล่นกีฬาทางน้ำ ขายของที่ระลึก ขายอาหาร ทางเดินเท้า ที่รถจักรยานที่จอดรถ รวมทั้งการรักษาความสะอาด การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การรักษา ความปลอดภัย ฯลฯ มีการจัดกลุ่มผู้ประกอบการ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสำคัญ และ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประชาชน ในเทศบาลเมืองแสนสุข
ประวัติ และพัฒนาการของชุมชนตั้งเดิมในท้องถิ่น
เทศบาลเมืองแสนสุข เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแสนสุข เป็นเทศบาลตำบลแสนสุข ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแสนสุขทั้งตำบล บางส่วนของตำบลเหมือง และบางส่วนของตำบลห้วยกะปิ อยู่ภายใต้การบริหารงาน ของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีนายสมชาย คุณปลื้ม เป็นนายกเทศมนตรี นายสวัสดิ์ หอมปลื้ม และนายสมชาติ คุณปลื้ม เป็นเทศมนตรี มีสมาชิกสภาเทศบาล อีกจำนวน 12 คน เข้ามาร่วมคิดร่วมทำ กำหนดนโยบายและบริหารงานต่าง ๆ ในรูปแบบเทศบาล ทำให้ท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้า ภายใน ระยะเวลา 13 ปี จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลแสนสุข เป็นเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2544 เทศบาลเมืองแสนสุข มีหน้าที่รับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยคือ ชายหาดบางแสน เนื่องจากเป็นที่ท่องเที่ยว ของประชาชนทุกระดับ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 89 กิโลเมตรจึงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะ เป็น ชาวไทยหรือต่างประเทศ มาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี เทศบาลเมืองแสนสุข ในอดีตก่อนจะจัดตั้งเป็นเทศบาลการบริหารงานถูกดำเนินการโดยคณะกรรมการ
สุขาภิบาลแสนสุข พื้นที่ชายหาดบางแสนและเขาสามมุข สมัยนั้นนิยมท่องเที่ยวชมเขา แต่เนื่องจากขาดงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และการจัดการ ที่ดี อำนาจในการบริหารขึ้นอยู่กับการปกครองส่วนภูมิภาค ทำให้การบริหารงานไม่เป็นไปด้วยดีเท่าที่ควร เมื่อสุขาภิบาล ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาล ศักยภาพในการบริหารงานมีมากขึ้น การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เป็นไปอย่างรวดเร็วพลิกฟื้นจากแหล่งเสื่อมโทรม กลายเป็นแหล่งชุมชน ที่มีศักยภาพในด้าน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของท้องถิ่นมีรายได้หมุนเวียน โดยเฉพาะวันหยุดราชการนับล้าน ๆ บาทต่อวัน ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง เฉลี่ย 3 เมตร ภูมิอากาศจัดอยู่ในประภทฝนเมืองร้อน หรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ด้านตะวันออกของเทศบาลเป็นที่ราบเชิงเขาลาดแนวชายฝั่งทะเล จึงเป็นหาดทรายยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความสูงของพื้นที่วัดจากน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร สภาพสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากเทศบาลมีศักยภาพ เป็นชุมชนทางการศึกษา การท่องเที่ยว และที่พักอาศัยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ กับการพาณิชยกรรม กิจกรรม การค้าตั้งอยู่หนาแน่นบริเวณตลาดหนองมนและชายหาดบางแสนซึ่งเป็นผลมาจากการ ท่องเที่ยว
นอกจากนี้ยังมีอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว ฟาร์มกุ้ง แปรรูปผลิตผลทางทะเล และรับจ้างรวมถึงกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการด้านการท่องเที่ยว ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทำให้สภาพเศรษฐกิจเติบโตรวด
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อลดปริมาณขยะในทะเล ชายฝั่ง และบริเวณชุมชนชายฝั่ง ไม่ให้มีผลกระทบกับแหล่งทรัพยากร
2. เพื่อป้องกัน อนุรักษ์ และฟื้นฟู แหล่งทรัพยากร ที่ได้รับความเสียหายจากการปกคลุมของขยะ
3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างจิตสานึกของ ชมชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ ในพื้นที่ในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
4. เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะและรักษาความสะอาดของชายหาดบางแสน
5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน
สถานที่ดำเนินการ
ชายหาดบางแสน
วิธีดำเนินการ
1. สํารวจพื้นที่ในการจัดกิจกรรม และจัดทําแผนการดําเนินงาน
2. ประชุมชี้แจง และวางแผนการดําเนินงาน
3. จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ เอกสารประกอบการดําเนินงานกิจกรรม
4. ดําเนินการออกสํารวจพื้นที่เก็บขยะชายหาดบริเวณหาดบางแสน
5. ดําเนินการจัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาด
6. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ที่สามารถเก็บขยะได้โดยที่สามารถครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด
7. วิเคราะห์แหล่งที่มาของขยะ และจัดรายงาน
8. ดําเนินการเผยแพร่การจัดกิจกรรมผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่ออินเตอร์เน็ต,
โปสเตอร์,
แผ่นพับ
9. สรุปผลประเมินผลการดําเนินงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารพัฒนาความสะอาดหรือระบบการรักษาความสะอาดชายหาดบางแสนได้
2.สามารถลดปัญหาขยะในบริเวณชายหาดบางแสนและพัฒนาสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
3.สามารถอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรทางทะเลของชายหาดบางแสนได้
4.สามารถสร้างการมีส่วนร่วม การมีจิตสำนึก ของนิสิต นักเรียน นักศึกษา องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่การช่วยกันอนุรักษ์ชายหาดบางแสน
หลักการและเหตุผล
จากการที่มนุษย์พยายามสร้าง และพัฒนาความเจริญให้สังคมที่ตนเองอาศัยอยู่โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้อย่างไม่ระมัดระวังทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติเสียไปดังนั้นจึงส่งผลให้ในปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมได้เสื่อมโทรมลงไปมากและเกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นจึงจำเป็นจะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ทางเทศบาลบางแสนต่างก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้ ในทุกๆปีนักท่องเที่ยวมาเยือนชายหาดบางแสนเป็นจำนวนมาก ชายหาดบางแสนจึงกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่สิ่งที่น่าสลดใจนั่นคือในขณะที่ชายหาดบางแสนกลายเป็นที่นิยม เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ในทางกลับกับคุณภาพของชายหาดกลับลดลง เช่นในเรื่องปัญหาน้ำสกปรกและปัญหาขยะล้นชายหาด
เทศบาลบางแสนในฐานะหน่วยงานหลัก ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมและบริหารงานเมืองบางแสนแห่งเพื่อให้เกิดความสะอาดต่อบ้านเมืองบางแสน รวมทั้งการควบคุมดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำให้อยู่ในสภาพดีปราศจากมลภาวะจึงได้จัดโครงการหัวใจเราฝากเคียงไว้อยู่...คู่บางแสน เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเลและช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับชายหาดบางแสน พร้อมกับปลุกจิตสำนึกประชาชนให้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ
ความเป็นมาของโครงการ
หาดบางแสนชายทะเลใกล้ๆกรุงเทพฯ เป็นที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวไทยรู้จักกันดีมากว่า 50 ปี เคยมีชื่อเรียกว่าหาดแสนสุขมาระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกตามชื่อสถานที่คือบางแสน หาดบางแสนเต็มไปด้วยทั้งนักท่องเที่ยงชาวไทยและต่างชาติ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เดินมาสะดวก ใกล้ตัวเมืองและมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ทุกคนอาจลืมไปว่าเมื่อเรามาให้ธรรมชาติบำบัดเราแล้ว ตัวเราลืมที่จะตอบแทนธรรมชาติกลับหรือเปล่า หลายคนเข้าใจว่าทะเลบางแสนสกปรก ขยะเกลื่อนหาด เพราะคนบางแสนไม่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของหาดบางแสน สาเหตุที่หาดบางแสนน้ำสกปรกมาก ขยะเต็มไปหมด มีทั้งขวดแตก ถุงพลาสติก สิ่งปฏิกูลต่างๆ ขยะเยอะมาก ส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวและผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณบางแสนที่ขาดการละเลยการเอาใจใส่หาดบางแสน ฉะนั้น ทางผู้จัดตั้งโครงการจึงอยากที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาหาดบางแสนและปรับทัศนคติมุมมองใหม่เพื่อให้บางแสนมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
บางแสนมีคนคอยดูแล เพียงแค่จำนวนคนยังไม่มากพอก็เท่านั้น มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่คู่กับเราไปนานๆ กันดีกว่า ช่วยกันคนละเล็กละน้อย ปลูกฝังจิตสำนึก ร่วมรักษาความสะอาดและทำให้บางแสนน่าอยู่สมกลับคำกล่าวที่ว่า “บางแสน...แสนสุขทุกย่างก้าว”
Subscribe to:
Posts (Atom)